ความร้อนเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่อยู่ทั้งภายในร่างกายของเราและอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งมีผลทำให้โมเลกุลของสิ่งต่าง ๆ สั่นสะเทือนจนอาจเกิดการเปลี่ยนสภาพได้ ดังที่เรามักจะเห็นวัตถุเปลี่ยนรูปหรือวัตถุดิบต่าง ๆ มีสภาพเปลี่ยนไปหลังจากโดนความร้อนนั่นเอง ดังนั้น หากที่ทำงานอย่างโรงงานหรือไลน์การผลิตไหนมีการประกอบกิจกรรมที่ทำให้เกิดความร้อนจึงต้องมีการตรวจความร้อนในที่ทำงาน เพื่อให้ดัชนีต่าง ๆ เป็นไปตามข้อกำหนดกฎหมาย และไม่เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ปฏิบัติงาน
ความร้อนที่ส่งผลต่อมนุษย์มาจากไหน
– ความร้อนมาจากหลายแหล่งกำเนิดดังนี้
– จากกระบวนการเผาผลาญในร่างกายของมนุษย์เอง
– จากการออกกำลังกายหรือการทำงาน ซึ่งจะสร้างความร้อนให้เกิดขึ้นในร่างกาย
– จากสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานความร้อนธรรมชาติ และการกระทำต่าง ๆ ในกระบวนการอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดไฟ รังสี หรือความร้อน
ทำไมต้องมีการตรวจความร้อนในที่ทำงาน
จากแหล่งกำเนิดความร้อนข้อสุดท้าย คือ ความร้อนจากกระบวนการทำงานในอุตสาหกรรมนี่เองที่เป็นสาเหตุว่าทำไมกฎหมายจึงต้องกำหนดให้มีการตรวจวัดค่าความร้อนตามโรงงานหรือสถานที่ปฏิบัติงานให้เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงในเรื่องความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ ตลอดจนสวัสดิภาพของชุมชนข้างเคียง โดยกระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดให้วัดเป็นอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (WBGT)
โรงงานไหนต้องใส่ใจเรื่องการควบคุมความร้อน
สำหรับโรงงานที่มีความเสี่ยงในเรื่องการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อนได้จะต้องมีการว่าจ้างบริษัทมาตรวจความร้อนในที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างโรงงานที่จำเป็นต้องตรวจความร้อน ได้แก่
– โรงงานปูน ซีเมนต์
– โรงงานผลิตหรือซ่อมยาง
– โรงงานผลิตแก้วและเส้นใย
– โรงงานสิ่งทอที่ประกอบการฟอกหรือย้อมสีในโรงงาน
– โรงงานผลิตน้ำตาล
– โรงงานผลิตหรือแปรรูปโลหะ
สำหรับการตรวจความร้อนในที่ทำงานนั้นต้องกระทำโดยบริษัทที่ได้มาตรฐาน มีการรับรองจากหน่วยงานที่ถูกต้อง เพราะนอกจากจะส่งผลในเรื่องความถูกต้องทางกฎหมายแล้ว ยังส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและชุมชนโดยตรงอีกด้วย